เกร็ดความรู้เรื่องฝุ่น > ห้องคลีนรูมและมาตรฐานคลีนรูม



















สำหรับผู้ที่ต้องการความรู้เพิ่มเติม!!
ทางเรามีบริการจัดอบรม
ให้ความรู้เรื่องฝุ่น และวิธีการจัดการกับฝุ่นอย่างละเอียด
ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ไม่ได้เผยแพร่บนเวปไซต์ ทั้งยังมีภาพและวิดิโอประกอบเพื่อความเข้าใจง่าย


OUR SERVICE
จัดอบรมเรื่องฝุ่น
เพื่อให้หาทาง
จัดการกับฝุ่นได้อย่างได้ผล





sale1@csc-biz.com
TEL: 081-347-8037

ห้องคลีนรูมและมาตรฐานคลีนรูม

ห้องคลีนรูม คือ ห้องที่มีระบบอากาศแบบพิเศษ เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นในอากาศมิให้มีเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด

ซึ่งห้องคลีนรูมนี้ นิยมใช้กันในวงการที่ต้องระมัดระวังเรื่องฝุ่น หรือเชื้อโรคเป็นพิเศษ เช่น โรงพยาบาล, โรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหารและยา, โรงงานผลิตชิ้นส่วนและชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ เช่น เซมิคอนดักเตอร์, โรงงานพ่นสีรถยนต์, โรงงานผลิตเลนส์ ฯลฯ เพราะในอุตสาหกรรมเหล่านี้ มีฝุ่นเป็นศัตรูตัวร้ายที่อาจทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ เช่น ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ หากมีฝุ่นมาเกาะบนแผงวงจรไฟฟ้า ก็อาจทำให้แผงวงจรนั้นๆเกิดช็อตเสียหายได้ หรือถ้าเป็นอุตสหกรรมพ่นสี เวลาที่พ่นสีทับลงไปบนฝุ่น ก็ทำให้เกิดสีปูดกลายเป็นงานเสียเช่นกัน
โดยที่ห้องคลีนรูมที่ต้องระวังในเรื่องเชื้อโรค เช่น ห้องคลีนรูมในโรงพยาบาล, โรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์, โรงงานยา, โรงงานผลิตอาหาร หรือห้องทดลองที่เกี่ยวข้อง จะเรียกว่า BCR (Biological Clean Room) ส่วนห้องคลีนรูมอื่นๆที่ระวังเฉพาะเรื่องฝุ่นเพื่อไม่ให้เกิดงานเสีย เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ จะเรียกว่า ICR (Industrial Clean Room)

ห้องคลีนรูมนั้น มีหลายแบบ และหลายระดับ แล้วแต่ว่าหน้างานนั้นๆต้องระวังฝุ่นที่มีขนาดเล็กเพียงไร
ยิ่งโรงงานที่ผลิตชิ้นงานที่ต้องระวังฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก ยิ่งจำเป็นต้องสร้างห้องคลีนรูมที่รักษาความสะอาดได้ดีมาก
(คือ ไม่ปล่อยให้มีฝุ่นขนาดเล็กตกค้างอยู่ในห้องได้)
ห้องคลีนรูมมีแบบ Positive Pressure และ Negative Pressure ห้องคลีนรูมแบบ Positive Pressure จะใช้ในหน่วยงานที่ต้องการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าห้อง เช่น ในสายงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำโดยป้อนอากาศเข้าไปให้ความดันภายในห้องเป็น Positive Pressure (คือ ความดันภายในห้องนั้นๆ สูงกว่าห้องข้างเคียง) เพื่อป้องกันมิให้อากาศจากภายนอกไหลเข้ามาในห้อง เพราะอากาศจากภายนอกอาจนำสิ่งแปลกปลอมเข้ามาได้ และห้องคลีนรูมจะมีระบบให้อากาศพาฝุ่นออกจากห้องไปได้โดยง่าย
เช่น ทำพื้นเป็นตะแกรง หรือมีช่องสำหรับให้ลมออก ซึ่งในกรณีทำเป็นช่อง มักมีการติด Pressure Damper (บานควบคุมแรงดันอากาศ ซึ่งมีวิธีการทำงาน คือ เมื่อภายในห้องมีแรงดันอากาศสูง อากาศก็จะผลักบาน Damper นี้ให้เปิดออก แต่พอความดันภายในห้องต่ำ บานนี้ก็จะปิดลง เป็นการป้องกันมิให้ฝุ่นจากภายนอกเข้ามาได้) ส่วนห้องคลีนรูมแบบ Negative Pressure จะใช้กับห้องที่เกี่ยวข้องกับเชื้่อโรคหรือสารเคมีอันตรายที่จำเป็นต้องป้องกันมิให้แพร่ระบาดออกไปภายนอก ห้องคลีนรูมชนิดนี้จะสร้างความดันภายในห้องให้เป็น Negative (คือ ความดันภายในห้องต่ำกว่าห้องข้างเคียง)

ตัวอย่าง Pressure Damper
  
เราสามารถตรวจดูว่าในห้องนั้นๆเป็น Positive Pressure หรือ Negative pressure ได้โดยใช้ละอองน้ำดูทิศทางการไหลของกระแสลม เพราะลมจะไหลจากที่ที่มีความดันสูงไปยังความดันต่ำ


ตัวอย่างองค์ประกอบของห้องคลีนรูม

ส่วนประกอบของห้องคลีนรูม

ในทางปฏิบัติ การสร้างห้องคลีนรูม จะมีค่าใช้จ่ายสูง ไหนจะค่าวัสดุ ค่าบำรุงรักษา และค่าไฟสำหรับระบบปรับอากาศภายในห้อง ดังนั้น การที่จะสร้าง Clean Area อย่างมีประสิทธิผล และประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด คือ การสร้างขนาดเท่าที่จำเป็น เช่น ตัวอย่างการสร้างคลีนบูธอย่างง่ายดังรูปต่อไปนี้
ตัวอย่างคลีนบูธ Class 100 (ISO Class 5) อย่างง่าย
โดยใช้ FFU และ CS-Balloon


สร้างง่าย!! ต้นทุนต่ำ!! ประหยัดพลังงาน!!
 
※CMM = ปริมาตรลมที่FFUป้อนเข้าบูธ มีหน่วย ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
※ขนาดของคลีนบูธในที่นี้มีหน่วยเป็น mm (มิลลิเมตร)

ขอมีแค่โครง, ม่านหรือผนัง, ชุดพัดลมป้อนอากาศสะอาด (FFU) และแผ่นผ้ากระจายลม (CS-Balloon) ก็จะสามารถสร้าง Clean Area ที่มีประสิทธิภาพ และต้นทุนต่ำได้ 




ห้องคลีนรูมที่ต้องระวังความสะอาดมากเป็นพิเศษ จำเป็นต้องกำหนดให้พนักงานสวมชุดคลีนรูม, สวมหมวกคลุม, สวมถุงมือ, สวมหน้ากาก ปกปิดร่างกายให้มิดชิด เพื่อป้องกันมิให้ฝุ่นจากตัวพนักงานตกลงไปยังชิ้นงานซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้ชิ้นงานเสียหายได้ รวมถึงการใช้อุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ก่อให้เกิดฝุ่น เช่น กระเป๋า, สมุดโน้ตหรือกระดาษ แบบไม่สร้างฝุ่น เป็นต้น
ส่วนในเรื่องของการทำความสะอาด ก็จะใช้แบบที่ทำมาสำหรับห้องคลีนรูมเช่นกัน เช่น
เครื่องดูดฝุ่นสำหรับห้องคลีนรูม, ผ้าเช็ดแบบไม่สร้างฝุ่น, ลูกกลิ้งแบบไม่สร้างฝุ่น เป็นต้น

  

เครื่องดูดฝุ่นสำหรับห้องคลีนรูม

ภายในเครื่องจะมี Filter สำหรับกรองฝุ่นขนาดเล็ก (ULPA Filter กรองฝุ่นขนาด 0.1 - 0.2ไมครอนได้ 99.99%) ติดไว้เพื่อป้องกันมิให้ฝุ่นเล็ดลอดออกมาพร้อมลมที่ปล่อยออกมา
- ตัวเครื่องจะมีทั้งแบบขนาดใหญ่ และขนาดเล็กสำหรับพกพา
 

ผ้าเช็ด สำหรับห้องคลีนรูม

ผ้ามีหลายประเภท ควรเลือกให้เหมาะกับชิ้นงานและสิ่งสกปรกที่ต้องการเช็ด ซึ่งการทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดนี้ มีโอกาสที่ฝุ่นจะฟุ้งกระจายน้อย และเป็นวิธีการทำความสะอาดที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิธีเช็ดด้วย ควรเช็ดอย่างถูกวิธี เช็ดทำความสะอาดไปในทางเดียง จากบนลงล่าง และไม่เช็ดวนไปวนมา
ดูรายละเอียดผ้าเช็ดเพิ่มเติมได้ที่
  

ลูกกลิ้ง Roller

ไม่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย
- ใช้กลิ้งทำความสะอาดชิ้นงาน
- ทำความสะอาดโต๊ะ, ผนัง, พื้น, เพดาน
- ใช้กลิ้งบนชุดคลีนรูม ลดฝุ่นที่ติดอยู่บนตัวพนักงาน
- ใช้กลิ้งบนชุดคลีนรูม ลดฝุ่นที่ติดอยู่บนตัวพนักงาน
- ใช้ทำความสะอาดถุงมือ
ดูรายละเอียดผ้าเช็ดเพิ่มเติมได้ที่

roller checker

และที่ห้องคลีนรูมหลายแห่ง จะมีการติดตั้ง "แอร์ ชาวเวอร์"(Air Shower:ห้องเป่าลมขจัดฝุ่น) ไว้ที่ทางเข้าห้องคลีนรูม เพื่อเป่าฝุ่นออกจากตัวคนก่อนที่จะเข้าห้องคลีนรูม ลดฝุ่นที่จะติดตัวคนเข้าห้องคลีนรูม
สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับแอร์ชาวเวอร์เพิ่มเติมได้ที่

วัตถุประสงค์ของการใช้ห้องคลีนรูม

- เพื่อป้องกันฝุ่นที่เป็นตัวต้นเหตุให้เกิดงานเสีย
- ประหยัดค่าใช้จ่ายอันเกิดจากงานเสีย
- ประหยัดเวลาและแรงงาน ที่ต้องหมดไปกับการผลิตและการจัดการกับงานเสีย
- เมื่องานเสียลดลง ปริมาณงานที่ผลิตได้ก็จะสูงขึ้น กำลังใจของพนักงานก็จะสูงขึ้นด้วย
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าของบริษัท
- สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า

ข้อจำกัดของการใช้ห้องคลีนรูม

- ยิ่งเป็นคลีนรูมที่มีคลาสสูงและขนาดใหญ่ขึ้นเท่าไร ค่าก่อสร้าง, การบำรุงรักษา, ค่าไฟขณะใช้งาน ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
⇒ วิธีแก้: สร้างคลีนรูมขนาดเท่าที่จำเป็น หรือใช้คลีนบูธ หรือคลีนเบนช์ เฉพาะในจุดที่จำเป็น
- เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ ฝุ่นเริ่มสะสมมากขึ้น
⇒ วิธีแก้: หมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ และอบรมพนักงานให้ใส่ใจระวังเรื่องฝุ่น

มาตรฐานคลีนรูม

มาตรฐานคลีนรูมที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน คือ มาตรฐาน ISO 14644 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล
มาตรฐาน ISO 14644 มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Cleanrooms and associated controlled environments เนื้อหาแบ่งออกเป็น 9 ส่วน ดังนี้


Part 1 Classification of air cleanliness by particle concentration ISO 14644-1:2015
Part 2 Monitoring to provide evidence of cleanroom performance related to air cleanliness by particle concentration ISO 14644-2:2015
Part 3 Test methods ISO 14644-3:2005
Part 4 Design, construction and start-up ISO 14644-4:2001
Part 5 Operations ISO 14644-5:2004
Part 6 Vocabulary ISO 14644-6:2008
Part 7 Separative devices (clean air hoods, gloveboxes, isolators and mini-environments) ISO 14644-7:2004
Part 8 Classification of air cleanliness by chemical concentration ISO 14644-8:2013
Part 9 Classification of surface cleanliness by particle concentration ISO 14644-9:2012
Part 10 Classification of surface cleanliness by chemical concentration ISO 14644-10:2013
* ตารางแบ่งคลาสคลีนรูม จะอยู่ใน ISO 14644-1 ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อปี 1999 และปรับปรุงใหม่เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2015
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตารางการแบ่งคลาสคลีนรูมก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากมาย เพียงแต่ยกเลิกเกณฑ์ฝุ่นที่ดูไม่สมเหตุสมผลเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังยกเลิกข้อกำหนดที่ว่า "หากตรวจวัดที่จุดเดียว จำเป็นต้องวัด 3 ครั้งขึ้นไป"
และมีการระบุชัดเจนว่า ขนาดพื้นที่กี่ตารางเมตร ต้องวัดอย่างน้อยกี่จุด

วิธีการตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของคลีนรูมที่ระบุอยู่ในมาตรฐาน ISO 14644-3

- B1 Airborne Particle Count (for classification)
- B2 Ultrafine Particle Count (for characterisation)
- B3 Macro Particle Count (for characterisation)
- B4 Airflow Test
- B5 Pressure Difference Test
- B6 Installed Filter Leakage Test
- B7 Flow Visualisation
- B8 Airflow Direction Test
- B9 Temperature Test
- B10 Humidity Test
- B11 Electrostatic & Ion Generator Test
- B12 Particle Deposition Test
- B13 Recovery Test
- B14 Containment Leak Test

Particle Counter
B1 Airborne Particle Count คือการวัดปริมาณฝุ่นในอากาศเพื่อระบุระดับความสะอาดของห้องคลีนรูมนั้นๆ (for classification) ระดับความสะอาดตามมาตรฐาน ISO 14644-1 นั้นจะแบ่งออกเป็น 9 ระดับ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คลาส (Class) ห้องคลีนรูมที่สะอาดมากจะเป็น คลาส 1 แล้วไล่ลำดับไปถึงห้องคลีนรูมที่มีความสะอาดน้อยคือ คลาส 9
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัด ได้แก่ Particle Counter ซึ่งใช้สำหรับวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาด 0.1-5 ไมครอนในอากาศ
ดูรายละเอียดเรื่องคลาสของคลีนรูมได้ที่

RACCAR
(Coarse Particle Counter)
RACCAR (Coarse Particle Counter) เครื่องมือวัดฝุ่นขนาดใหญ่ที่ตกลงบนพื้นผิว สามารถใช้ในการวัดฝุ่นเพื่อแบ่งคลาสตามมาตรฐาน ISO 14644-9 (ประกาศใช้ตั้งแต่ปี2012)ซึ่งดูระดับความสะอาดของห้องคลีนรูมจากปริมาณฝุ่นที่ตกลงมาบนพื้นผิว

Mist Stream
B7 Flow Visualisation และ B8 Airflow Direction Test คือ การตรวจสอบทิศทางของกระแสลม สามารถใช้เครื่องสร้างละอองน้ำ Mist Stream ในการตรวจสอบได้
เครื่อง Mist Stream ใช้น้ำกลั่น จึงไม่ต้องกังวลว่าจะสร้างฝุ่นในห้องคลนรูม นอกจากนี้ ยังมีขนาดกะทัดรัด ยกเคลื่อนย้ายสะดวก และสามารถปรับปริมาณละอองน้ำตามต้องการได้

คลีนบูธ และ คลีนเบนช์

นอกจากคลีนรูมแล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งมีหลักการเดียวกันคือ ป้อนอากาศสะอาดเข้าไป เพื่อให้ฝุ่น ณ ที่นั้นเจือจางลง ได้แก่ คลีนบูธ ซึ่งก็คือ ห้องคลีนรูมขนาดย่อม และ คลีนเบนช์ คือ ตู้ที่มีระบบสร้างอากาศสะอาด


พัดลมกรองอากาศ

หรือ ที่เรียกกันว่า FFU (Fan Filter Unit) เป็นพัดลมที่ติด HEPA Filter ซึ่งมีคุณสมบัติกรองฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอนได้ 99.97% ทำหน้าที่ป้อนอากาศสะอาดเข้าไปในห้องคลีนรูม, คลีนบูธ หรือตู้คลีนเบนช์ซึ่ง Filterนี้ เราสามารถเปลี่ยนเป็นชนิดที่ละเอียดขึ้น (ULPA Filter) หรือ ชนิดที่หยาบขึ้น (MEPA Filter) แล้วแต่ลักษณะการใช้งาน และขนาดของฝุ่นที่ต้องระวัง
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ FFU เช่น การใช้งาน และผลการทดลองเพิ่มเติมได้ที่

นอกจากนี้ เรายังมีพาร์ทิชั่นฟอกอากาศ สำหรับกรองสิ่งสกปรกออกจากอากาศก่อนจะป้อนเข้าสู่บริเวณที่ต้องระวังฝุ่นได้
เหมาะสำหรับติดตั้งไว้ในห้องคลีนรูม หรือห้องตรวจโรค, เตียงผู้ป่วยในคลินิกหรือโรงพยาบาล

เครื่องฟอกอากาศสำหรับโรงพยาบาล เครื่องกรองฝุ่น Clean Partition  

คลีนบูธ

ห้องที่กั้นทำเป็นคลีนรูมขนาดย่อม อาจสร้างไว้ในห้องธรรมดา หรือในห้องคลีนรูม สำหรับงานที่ต้องระวังเรื่องฝุ่นเป็นพิเศษ ซึ่งการทำเป็นห้องคลีนรูมขนาดเล็กเช่นนี้ จะดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย และสามารถเคลื่อนย้าย, ต่อเติมได้ง่ายกว่าการสร้างเป็นห้องใหญ่ๆ อีกทั้งอาจติด Air Shower ไว้ตรงทางเข้าได้อีกด้วย

คลีนเบนช์

คลีนรูมขนาดเล็กแบบตั้งโต๊ะ หรือตั้งพื้น ใช้สำหรับทำงาน หรือเก็บชิ้นงานที่ต้องระวังมิให้มีฝุ่นมาเกาะ คลีนเบนช์อย่างในภาพนี้เป็นคลีนเบนช์ที่มีขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน ผู้ใช้สามารถประกอบและเคลื่อนย้ายเองได้ การถอดเปลี่ยนฟิลเตอร์ก็สามารถทำเองได้ง่ายดาย


ตรวจดูฝุ่นภายในห้องคลีนรูมด้วยอุปกรณ์ของซีเอสซี!!



E-mail: sale1@csc-biz.com
Tel: 081-347-8037, 086-031-9898


ตัวอย่างอุปกรณ์ลดฝุ่นในห้องคลีนรูม
return to top